อักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่ เว็บบล็อกของ รองฯมยุรี คงด้วง รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ Mrs.Mayuree Kongduang : Deputy Director of Department of Planning and Cooperation

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สหภาพยุโรป
  • ที่ตั้ง  ประเทศในทวีปยุโรป 27 ประเทศ (ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย  ฮังการี  ลัตเวีย ลิทัวเนีย  มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวาเกีย โรมาเนียและบัลแกเรีย)
  • พื้นที่         3,976,372 ตารางกิโลเมตร
  • ประชากร    ประมาณ 456.9 ล้านคน
  • ภาษา        ประมาณ 20 ภาษา
  • ศาสนา       ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนา ต่าง ๆ เช่น ยิว อิสลาม พุทธ
  • ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม
  • สกุลเงิน       ยูโร ขณะนี้ มีสมาชิกประเทศสหภาพยุโรปเข้าร่วมใน eurozone 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี  ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และล่าสุด คือ สโลวีเนีย  
  • อัตราแลกเปลี่ยน                        1 ยูโร =  ประมาณ 49-53 บาท
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 13.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราการเจริญเติบโตของ GDP       ร้อยละ 1.7
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว                       28,100 ยูโร / คน
  • อัตราการว่างงาน                        ร้อยละ 9.4
  • อัตราเงินเฟ้อ                             ร้อยละ 2.2
  • มูลค่าการนำเข้า                         1.402 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ประเทศคู่นำเข้า                         สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น
  • สินค้าเข้าสำคัญ                         เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะ อาหาร เสื้อผ้า
  • มูลค่าการส่งออก                        1.318 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ประเทศคู่ส่งออก                        สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ จีน รัสเซีย
  • สินค้าออกสำคัญ                        เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ เชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ
  • ระบบการเมือง                           เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปทุก 6 เดือน โดยทำงานร่วมกันกับคณะกรรมาธิการยุโรปและสภายุโรป
ประธานสหภาพยุโรป (EU Presidency) แต่ละประเทศสมาชิกจะเวียนเข้ารับตำแหน่งวาระคราวละ 6 เดือน
  • ในช่วงปี 2549 ได้แก่ ออสเตรีย  : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2549  และ  ฟินแลนด์  : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2549
  • ในช่วงปี 2550 ได้แก่ เยอรมนี    : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2550  และ โปรตุเกส   : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2550
  • ในช่วงปี 2551  ได้แก่ สโลวีเนีย  : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2551  และ ฝรั่งเศส    : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2551
  • ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป              นาย Jose Manuel Barroso (โปรตุเกส)
  • ประธานสภายุโรป                            นาย Hans Gert Pottering (เยอรมนี)
สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรป
  • ในภาพรวม สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคมระดับโลก
  • ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ “Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด
  • พลังทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการขยายสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในกรอบสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนานโยบายร่วมในด้านต่างๆ และการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันและการบริหาร

ความเป็นมา
  • ค.ศ. 1952 : จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community – ECSC) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และ ลักเซมเบิร์ก และ 25 มี.ค. ค.ศ. 1957 กลุ่มประเทศทั้ง 6 ได้ลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaties of Rome) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และได้พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
  • ค.ศ. 1958 : จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณู (European Atomic Energy Community – EURATOM) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community – EEC)
  • ค.ศ. 1967 : ทั้งสามองค์กรได้รวมตัวกันภายใต้กรอบ EEC
  • ค.ศ. 1968 : EEC ได้พัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร (Custom Union) และก้าวสู่การเป็น    ตลาดร่วม (Common Market)
  • ค.ศ. 1973 : สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิก
  • ค.ศ. 1981 : กรีซเข้าเป็นสมาชิก
  • ค.ศ. 1986 : สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิก
  • ค.ศ. 1987 : ออก Single European Act เพื่อพัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียว ในวันที่ 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่า ประชาคมยุโรป (European Community – EC)
  • ค.ศ. 1992 : ลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of the European Union) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญามาสทริกท์ (Maastricht Treaty) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป (European Union – EU) มีเสาหลัก 3 ประการ คือ (1) ประชาคมยุโรป (2) นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และ (3) ความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน
  • ค.ศ. 1995 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าเป็นสมาชิก
  • ค.ศ. 1997 : ลงนามในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) แก้ไขเพิ่มเติม สนธิสัญญามาสทริกท์ เรื่องนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ความเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป และการปฏิรูปกลไกด้านสถาบันของสหภาพยุโรป
  • ค.ศ. 2001 : ลงนามในสนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) เน้นการปฏิรูปด้านสถาบันและกลไกต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป เพื่อรองรับการขยายสมาชิกภาพ
  • 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 : รับสมาชิกเพิ่มอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา  โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย
  • 29 ตุลาคม ค.ศ. 2004 : ประเทศสมาชิก EU 25 ประเทศ
  • ล่าสุด 1 มกราคม ค.ศ.2007 : ประเทศสมาชิก EU 27 ประเทศ (รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ ได้แก่ โรมาเนียและบัลแกเรีย) และ
  • 25 มีนาคม ค.ศ.2007 ได้ครบรอบ 50 ปี ของการลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม
เสาหลัก 3 ประการ ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญามาสทริชท์
  • เสาหลักที่หนึ่ง : ประชาคมยุโรป (the European Communities) ประกอบด้วย
      1.) การเป็นตลาดเดียว (Single Market) ที่มีการเคลื่อนที่อย่างเสรีของปัจจัย 4 ประการ (free movement) คือ
           (1) บุคคล
           (2) สินค้า
           (3) การบริการ
           (4) ทุน
      2.) การมีนโยบายร่วม (Common Policies) ในด้านการค้า การเกษตร (CAP) พลังงาน สิ่งแวดล้อม ประมง และสังคม เป็นต้น
      3.) สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union) มีธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) และมีการใช้เงินสกุลเดียว (Single Currency) คือเงินยูโร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2545
  • เสาหลักที่สอง : นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง (Common Foreign and Security Policy – CFSP)
  • เสาหลักที่สาม : ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน (Cooperation in Justice and Home Affairs) เช่น การตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด ตำรวจยุโรป (Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน

                                                              (รวบรวมจากเน็ต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น